โรคปวดหลังยังเป็นโรคที่ก่อให้เกิดปัญหามากในปัจจุบัน ทั้งต่อตัวผู้ป่วย
แพทย์ผู้รักษา และสังคม ซึ่งความสิ้นเปลืองที่เกิดขึ้นจากค่ารักษาพยาบาลและเวลา
ที่ผู้ป่วยต้องสูญเสียไป เนื่องจากต้องหยุดพักงาน เป็นสิ่งที่อาจหลีกเลี่ยงได้ถ้าสามารถ
ป้องกันดูแลรักษาสุขภาพตัวเองไม่ให้เกิดอาการปวดหลังซึ่งโรคปวดหลังในคนอายุน้อย
ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการทำงานและอิริยาบทที่ใช้หลังอย่างผิดวิธ
ีซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้และถ้าเริ่มต้นเป็นในระยะแรก ก็สามารถรักษาได้ด้วยการ
พักผ่อนเท่านั้น ส่วนในคนอายุ 40 ปีขึ้นไปอาการปวดหลังมักเกิดจากการเสื่อมสภาพ
ของกระดูกสันหลังซึ่งก็สามารถป้องกันได้อีกเช่นเดียวกัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังนั้นมีอยู่มากมาย ได้แก่
ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
การใช้งานหลังที่ผิด
การติดเชื้อ
โรคกระดูกพรุน
ความเสื่อมสภาพของกระดูก
ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
ความผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังตั้งแต่
่วัยเด็ก หรืออาจจะมาแสดงอาการในขณะที่โตขึ้นมากแล้วก็ได้และบ่อยๆที่พบว่ามีอาการ
เมื่ออายุมากแล้ว ซึ่งในกรณีเช่นนี้ส่วนใหญ่เป็นเพราะความเสื่อมสภาพที่เกิดชึ้นในภายหลัง
โรคที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มนี้ได้แก่โรคกระดูกสันหลังคด( Scoliosis) ซึ่งสามารถสังเกต
ได้ง่ายจากการที่หลังเอียงกระดูกสะบักสองข้างสูงไม่เท่ากัน หน้าอกสองข้างนูนไม่เท่ากัน
การรักษาในโรคหลังคดมีรายละเอียดมาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เป็นอายุโดยม
ีจุดประสงค์ในการรักษาเพื่อพยายามทำให้กระดูกสันหลังตรงหรือไม่คดมากขึ้น
มีวิธีการรัษาตั้งแต่
ออกกำลังกายกล้ามเนื้อ
ใส่เฝือกหลัง
ผ่าตัดกระดูกสันหลัง
การใช้งานหลังที่ผิด
สาเหตุของโรคปวดหลังที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่การทำงานที่ใช้หลังอย่างผิดวิธี หรือ
ออกแรงมากเกินไป ทำให้มีแรงที่เข้ามากระทำต่อหลังในแนวที่ผิดปกติเช่นการยกของหนัก
มากๆขึ้นจากพื้นในท่าก้มหลัง การดันของหนักๆ เช่น โต๊ะตู้เตียง การนั่งก้มหลังทำงานนานๆ
ติดต่อกันหลายๆชั่วโมง การนั่งขับรถเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เกิดอาการปวดหลังขึ้นมา
ทันทีหรือในวันสองวันหลังจากนั้น ซึ่งพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กล้ามเนื้ออักเสบ
2. หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดเส้นประสาท
1. อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบ และมีการบีบเกร็งตัว จะทำให้หลังแข็ง
เกร็งขยับเขยื้อนหลังไม่ได้ บางรายอาจมีอาการตัวเอียง เดินลำบาก
การรักษา มีจุดประสงค์คือ ต้องการให้หายเร็วที่สุด และสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้
ซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
- การพักจากงานที่ทำอยู่ ซึ่งจะต้องทำอย่างจริงจัง คือนอนพักจริงๆไม่ลุกขึ้นเลย
ยกเว้นเข้าห้องน้ำและรับประทานอาหารเท่านั้น โดยการนอนพักให้นอนอยู่ในท่าที่สบาย
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นท่านอนหงายเข่างอเล็กน้อยโดยใช้ผ้าห่มหรือหมอนใบเล็กๆรองใต้เข่า
หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำเพราะจะทำให้หลังแอ่นและปวดมากขึ้นระยะเวลาในการนอนพัก
อยู่ประมาณ 3 วันถึง 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
- ให้ยารักษาตามอาการ ได้แก่ยาลดความเจ็บปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ
- การทำกายภาพบำบัด
แต่ที่สำคัญที่สุดหลังจาการรักษาอย่างถูกต้องแล้ว คือต้องป้องกันไม่ให้เป็นขึ้นมาอีก
โดยต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน แก้ไขอิริยาบทให้ถูกต้องได้แก่
- การนอน ที่นอนควรจะแน่น ยุบตัวน้อยที่สุด
ไม่ควรใช้ฟูกฟองน้ำ หรือเตียงสปริง เพราะหลังจะจมอยู่ในแอ่งทำให้กระดูกสันหลังแอ่น
ท่านอนที่ดีที่สุด คือนอนหงายเข่างอเล็กน้อยโดยทีหมอนหนุนใต้เข่าและโคนขา
หรือนอนตะแคงกอดหมอนข้าง
- การนั่ง ควรนั่งให้ชิดขอบในของเก้าอี้ โดยหลังไม่โกง เก้าอี้ที่นั่งต้องรองรับก้น
และโคนขาได้ทั้งหมด ความสูงต้องพอดีที่เท้าแตะพื้น และควรมีที่เท้าแขน
- การยืน ควรยืนพักขาหนึ่งข้าง คือเข่าตึงข้างหย่อนข้างถ้ายืนนานๆควรหาเก้าอี้เตี้ยๆ
รองที่ขาข้างหนึ่งสลับกันไป และรองเท้าที่สวมใส่ไม่ควรมีส้นสูงมากเกินไป
- การยกของ อย่าก้มตัวลงยกของ ให้ใช้วิธีย่อเข่าลงแต่ให้หลังยืดตรงแล้วอุ้มของ
ให้ชิดลำตัว
- การเขียนหนังสือ อย่าทำงานโดยก้มตัวลงทีโต๊ะ หาเก้าอี้ที่มีความสูงพอเวลาที่เขียน
หนังสือข้อศอกต้องอยู่ในแนวระดับกับโต๊ะหลังต้องยืดตรง
- การขับรถ จัดเบาะให้หลังตรงมีหมอนใบเล็กๆหนุนตรงส่วนเอวไว้
- การออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงจะช่วย
ป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลังได้
2 หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดเส้นประสาท
ในคนปกติกระดูกเอวอันที่ 4 ต่อกับอัมที่ 5 และอันที่ 5 ต่อกับกระดูกสันหลัง
ส่วนเชิงกราน เป็นตำแหน่งที่รับน้ำหนักและเคลื่อนไหวมากที่สุด
หมอนรองกระดูก ประกอบด้วย Mucopolysaccharide proteincomplex
เป็นตัวทำให้เกิดความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง และให้ความมั่นคงแข็งแรงประมาณ 20 %
ของกระดูกสันหลัง เมื่ออายุมากขึ้นส่วนประกอบที่เป็นน้ำภายในหมอนรองกระดูกจะลดลง
ทำให้ความแข็งแรงลดลง ถ้ามีแรงมากระทำต่อหมอนรองกระดูกในลักษณะของ shear และ
rotation force ( ซึ่งมักจะเกิดในท่าก้มลงยกของหนัก) จะทำให้เกิด stress ต่อหมอนรอง
กระดูก และเกิดอาการอักเสบ บวมกดเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปที่ขา
การรักษา คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าโรคหมอนรองกระดูกกดเส้นประสาทนี้จำเป็น
ต้องรักษาโดยการผ่าตัดเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว 95 % ของผู้ป่วยโรคนี้หายได้โดยวิธี
รักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
- การนอนพัก
- การใช้ยาลดอาการปวด ยาลดอาการอักเสบของรากประสาท
- การทำกายภาพบำบัด เช่นการดึงหลัง การทำ ultrasound
- การออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องแข็งแรง
- โปรดจำไว้ว่าการผ่าตัดเป็นวิธีสุดท้ายที่ควรจะทำ หรือมีข้อบ่งชีที่ชัดเจน
อย่างอื่นร่วมด้วย เช่นไม่สามารถกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะได้
การติดเชื้อ
ภาวะการติดเชื้อที่กระดูกสันหลังส่วนเอว มีสาเหตุเช่นเดียวกับการติดเชื้อที่กระดูก
ตำแหน่งอื่นคือเชื้อโรคจะกระจายมาตามกระแสเลือดแล้วไปที่กระดูกสันหลังในกรณี
ที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นในร่างกายไม่ว่าที่ไหน จะมีการตอบสนองของร่างกายโดยการ
ที่มีไข้ขึ้น และมีอาการปวดหลังค่อนข้างรุนแรงมาก การรักษาจำเป็นต้องให้การรักษ
าอย่างเต็มที่และรวดเร็ว ในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างบ้านเรายังมีเชื้อวัณโรค
หลงเหลืออยู่ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังจากการติดเชื้อชนิดหนึ่ง
ซึ่งอาการจะค่อยเป็นค่อยไปมีอาการปวดหลังเพิ่มขึ้นทีละน้อย มีไข้ต่ำๆตอนบ่าย
น้ำหนักลด ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะเป็นอัมพาตได้ แต่ถ้าได้รับการวินิจฉัย
และรักษาได้ทันก็จะหายเป็นปกติ
ความเสื่อมสภาพของกระดูก
เมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ กระดูกสันหลังก็ต้องเสื่อมโทรมลงเป็นธรรมดาเมื่อถึงจุดๆหนึ่ง
ความแข็งแรงของข้อต่อกระดูกสันหลังจะลดลง ทำให้มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อมากขึ้น
หรืออาจเรียกให้เข้าใจง่ายๆว่า ข้อต่อหลวม จะทำให้เกิดอาการอักเสบและมีอาการปวดหลัง
ซึ่งมักจะมีอาการเวลาขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบท เช่นนอนแล้วลุกขึ้นลำบาก ถ้าอาการปวดมาก
จนทนไม่ได้ หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลยก็ต้องทำการผ่าตัดเพื่อเชื่อมกระดูกให้ไม่มีการขยับ
เคลื่อนไหวของข้อต่อที่มีปัญหานั้น แต่ถ้าอาการปวดไม่มากนักการรักษาโดยการให้ยาลดอาการ
อักเสบของข้อต่อก็ช่วยได้ และร่างกายก็จะมีขบวนการซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างหินปูน
มายึดเกาะข้อต่อให้แข็งแรงขึ้น อาการปวดที่เกิดขึ้นจากการอักเสบเนื่องจากข้อต่อหลวม
ก็จะหายไป
แต่อนิจจา ถ้าหินปูนที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นมีมากเกินไป จะทำให้ช่องว่างในไขสันหลัง
ที่เป็นที่อยู่ของเส้นประสาทแคบลงและเส้นประสาทก็จะถูกกดรัด ทำให้เกิดอาการปวดหลังอีก
ซึ่งคราวนี้อาการปวดหลังมักจะเป็นเมื่อเริ่มออกเดินไปได้สักระยะหนึ่ง จะเริ่มปวดหลังจนต้อง
ค่อยๆก้มหลังลงเรื่อยๆจนกลายเป็นเดินแบบหลังค่อมและจะปวดและชาที่ขามากขึ้นเรื่อยๆ
จนเดินไม่ไหวต้องหยุดเดินและนั่งพักอาการจึงจะดีขึ้น ระยะทางที่เดินได้จะสั้นลงเรื่อยๆ
ตามความรุนแรงของโรค คราวนี้การรักษาก็คือผ่าตัดเข้าไปเลาะทุกสิ่งทุกอย่างที่กดรัด
เส้นประสาทออกให้หมด ถ้าให้ยารักษาแล้วไม่ดีขึ้น |