อาการปวดเข่าเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายอย่าง แต่ในผู้ที่มีอายุมากกว่า
40 ปีมักเกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่า ซึ่งเป็นการเสื่อมสภาพ
ตามธรรมชาติแต่ช้าเร็วไม่เท่ากันในแต่ละคน
อาการสำคัญ
1. ปวดหัวเข่า และมีอาการเมื่อย ตึงที่น่องและใต้ข้อพับ
2. หัวเข่าบวม
3. เคลื่อนไหวข้อเข่าได้ไม่เต็มที่ งอ และเหยียดไม่สุด
4. เวลาเคลื่อนไหวข้อจะมีเสียงดัง
5. อาจมีการผิดรูปของข้อเข่า เช่นเข่าโค้งงอ
อาการเหล่านี้จะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ในระยะแรกมักจะเป็นๆหายๆ
แต่เมื่อเป็นมากขึ้น ก็จะมีอาการปวดรุนแรงขึ้นและปวดตลอดเวลา
การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อมนั้น ส่วนใหญ่จะวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติและ
การตรวจร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องเอ็กซเรย์ เพราะในหัวเข่าของคนสูงอายุ
ทั่วไปเมื่อถ่ายเอ็กซเรย์ก็จะพบว่ามีช่องว่างของข้อเข่าแคบลงและมีหินปูนจับ
อยู่ตามขอบของข้อได้โดยที่ไม่มีอาการผิคปกติแต่อย่างไร
การรักษา
ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด
แต่สามารถชลอความเสื่อมให้ช้าลงได้ทำให้อาการดีขึ้น ไม่ปวดทรมาน
และสามารถช่วยเหลือตัวเอง ใช้ชีวิตอยู่อย่างคนปกติทั่วไปได้
ซึ่งมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้
1. การเปลี่ยนพฤติกรรม การดำเนินชีวิตที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมลงมากขึ้น
ได้แก่การลดน้ำหนักตัว อย่าให้น้ำหนักมากเกินไป หลีกเลี่ยงการนั่งยองๆ
นั่งพับเพียบคุกเข่า ขัดสมาธิ หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการยืน
ท่าเดียวนานๆ
2. การออกกำลังกาย ควรเป็นการออกกำลังที่ไม่มีการลงน้ำหนักที่
เข่ามากนักได้แก่การเดินเร็ว การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ การบริหารกล้ามเนื้อ
รอบๆข้อเข่า
3. การใช้ยาแก้ปวด และลดอาการอักเสบของข้อ แต่ต้องระวัง
เพราะยาในกลุ่มนี้มักจะมีฤทธิ์รบกวนเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผล
ในกระเพาะอาหาร และทะลุได้
4. การทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยลดอาการปวด
และเพิ่มความแข็งแรง
5. การผ่าตัด จัดแนวกระดูกใหม่ หรือเปลี่ยนข้อเทียม
|